ความท้าทายของ Net Zero
ความตกลงปารีส (Paris Agreement) เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย โดยมุ่งเป้าไปที่การลดภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่เพื่อให้บรรลุสิ่งนี้ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) จะต้องลดลง 50% ภายในปีค.ศ.2030 และบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปีค.ศ.2050
ในขณะที่สหราชอาณาจักรเป็นประเทศสำคัญทางเศรษฐกิจประเทศแรกที่เริ่มใช้กฎหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ และได้เปิดตัวกลยุทธ์ด้าน Net Zero ซึ่งอุตสาหกรรมอาหารจำเป็นต้องรับผิดชอบ เนื่องจากมีการปล่อย GHG ประมาณ 34% (1 ใน 3) ที่เกิดจากอุตสาหกรรมอาหาร[1]
ด้วยอุณหภูมิที่สูงขึ้นและสถานการณ์อากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลันซึ่งเชื่อมโยงกับวิกฤตจากสภาพภูมิอากาศ ระบบอาหารได้รับผลกระทบจากพืชผลที่เสียหายและสูญหาย ในขณะที่ธุรกิจอาหารหลายแห่ง เช่น Danone, Innocent, McCain, Nestlé และ Morrisons มีเป้าหมายด้าน Net Zero อยู่แล้ว แต่เมื่อทุกส่วนของอุตสาหกรรมอาหารดำเนินการ การเปลี่ยนแปลงนั้นอาจเกิดขึ้นได้และยังป้องกันภาวะฉุกเฉินจากสภาพอากาศ
Net Zero หมายถึงอะไร
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero) คือเมื่อปริมาณการปล่อย GHG ที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศสมดุลกับการปล่อยออกจากบรรยากาศ เพื่อกำจัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์
อุตสาหกรรมอาหาร รวมถึงอุตสาหกรรมอื่น ๆ จะต้องบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ เพื่อยุติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การลดการปล่อยคาร์บอนไม่เพียงพอ มีการอ้างว่าการดำเนินการต่อด้วยวิธีการทางธุรกิจตามปกติอาจทำให้การปล่อยมลพิษเพิ่มขึ้น 30-40% ภายในปีค.ศ.2050[2] ซึ่งน่ากังวลหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ภายในอุตสาหกรรมอาหาร อาจเป็นไปไม่ได้ที่จะบรรลุเป้าหมายความตกลงปารีสในการจำกัดอุณหภูมิให้ต่ำกว่า 2°C[3]
ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่อุตสาหกรรมอาหารจะดำเนินการเพื่อหยุดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
บทบาทของอุตสาหกรรมอาหารในการก่อให้เกิด GHG
จากข้อมูลของ Food & Drink Federation (FDF) การนำเข้ามีส่วนรับผิดชอบต่อการปล่อยมลพิษถึง 33% ส่วนผสมในสหราชอาณาจักร 32% ผู้บริโภค 12% การค้าปลีกและการจัดเลี้ยง 9% การผลิต 6% บรรจุภัณฑ์ 3% การขนส่ง 5% และสินค้าขั้นสุดท้ายที่ใช้โดยผู้บริโภค 5%[5]
การทำฟาร์มคาดว่าจะมีส่วนในการปล่อยมลพิษประมาณ 10-12% ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน เช่น การตัดไม้ทำลายป่า ทำให้เกิดมลพิษ 8-10% และกิจกรรมห่วงโซ่อุปทานอาหาร เช่น การขนส่งและการผลิต มีส่วนรับผิดชอบต่อการปล่อยมลพิษ 5-10%[6]
ระบบอาหารของสหราชอาณาจักรมีหน้าที่ในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 160 เมตริกตัน ตามการศึกษาของ WRAP เมื่อคุณพิจารณาว่า 8-10% ของ GHG ทั่วโลกเกิดจากการผลิต การขนส่ง และการปล่อยให้อาหารเน่า นับเป็นสถิติที่น่าเป็นกังวลอย่างยิ่ง ผลกระทบของขยะอาหารมีมากมายจนหากเป็นประเทศของตัวเอง ก็จะมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามากเป็นอันดับ 3 รองจากสหรัฐอเมริกาและจีน[7]
การประเมินการปล่อยคาร์บอนของคุณ: ขอบเขตที่ 1, 2 และ 3
ตามระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับก๊าซเรือนกระจก การปล่อย GHG แบ่งออกเป็น 3 ขอบเขต
ขอบเขตที่ 1 ครอบคลุมถึงการปล่อยมลพิษโดยตรงจากแหล่งที่เป็นเจ้าของหรือควบคุม เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิง ยานพาหนะของบริษัท และฝุ่นฟุ้งกระจาย
ขอบเขตที่ 2 พิจารณาการปล่อยมลพิษทางอ้อม การปล่อยผ่านการผลิตไฟฟ้า ไอน้ำ ความร้อนและความเย็น ซึ่งซื้อและบริโภคโดยองค์กรที่รายงาน
ขอบเขตที่ 3 หมายถึงการปล่อยมลพิษทางอ้อมอื่น ๆ ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่คุณค่าของบริษัท เนื่องจากบริษัทไม่ได้เป็นเจ้าของ ควบคุม ซื้อหรือบริโภค จึงระบุได้ยาก แต่ถือว่าสำคัญที่สุด โดยคิดเป็น 90% ของการปล่อยมลพิษ พวกเขาสามารถรวมสินค้าและบริการที่ซื้อ การเดินทางเพื่อธุรกิจ การเดินทางของพนักงาน การกำจัดของเสีย การใช้งานสินค้า การขนส่งและการกระจายสินค้า การลงทุน ทรัพย์สินที่เช่า และธุรกิจแฟรน์ไชส์
ด้วยการมุ่งเน้นไปที่ขอบเขตที่ 3 ธุรกิจอาหารสามารถประเมินจุดที่มีการปล่อยมลพิษในห่วงโซ่อุปทาน ระบุความเสี่ยงด้านทรัพยากรและพลังงาน และเน้นย้ำถึงโอกาสในการประหยัดพลังงานและลดต้นทุน ประโยชน์อื่น ๆ ได้แก่ การตรวจสอบประสิทธิภาพความยั่งยืนของซัพพลายเออร์ การให้คำแนะนำและการนำแนวคิดริเริ่มด้านความยั่งยืนไปปฏิบัติกับซัพพลายเออร์ที่เป็นหุ้นส่วน และการมีส่วนร่วมของพนักงาน
วิธีดำเนินการด้าน Net zero
ผู้ผลิตอาหารสามารถดำเนินการเพื่อบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero) ได้โดยการทำความเข้าใจการปล่อยมลพิษที่ผลิตจากแหล่งที่เป็นเจ้าของหรือควบคุมก่อน ซึ่งอาจรวมถึง:
- การอัพเกรดหรือดัดแปลงยานพาหนะของบริษัทของคุณให้เป็นทางเลือกที่ปล่อยมลพิษต่ำ ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลได้แนะนำอยู่แล้วซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผน Clean Air โซน (CAZ) ทั่วเมืองต่าง ๆ ในสหราชอาณาจักร
- การลดคาร์บอนและประสิทธิภาพโดยการชดเชยหรือเปลี่ยนแหล่งไฟฟ้า ความร้อนและไอน้ำเป็นทางเลือกที่ปล่อยมลพิษต่ำ เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ นิวเคลียร์ หรือพลังน้ำ
- การกำหนดเป้าหมายของบริษัท โดยใช้ Science-based Targets (SBT) เพื่อร่างเป้าหมายสำหรับการลดการปล่อย GHG ที่เหมาะสมและเป็นจริง
มาตรฐานที่จะช่วยผู้ผลิตอาหารจัดการกับความท้าทายของ Net Zero
มีหลายมาตรฐานที่ผู้ผลิตอาหารสามารถใช้เพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero) ได้
มาตรฐาน PAS 2060 ของสถาบันมาตรฐานอังกฤษ (bsi.) ช่วยให้ผู้ผลิตอาหารสามารถแสดงให้เห็นถึงความเป็นกลางของคาร์บอนในธุรกิจของตนผ่านกระบวนการ 4 ขั้นตอน ขั้นตอนเหล่านี้รวมถึง:
- การประเมินการปล่อย GHG ตามข้อมูลการวัดที่แม่นยำ
- การลดการปล่อยมลพิษผ่านแผนการจัดการคาร์บอน
- การชดเชยการปล่อยมลพิษและ
- เอกสารและการทวนสอบผ่านการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะและข้อความชี้แจง
มาตรฐาน ISO 14064 มีแนวทางสำหรับการวัดปริมาณ การรายงาน และการทวนสอบการปล่อย GHG (ทั้งในระดับองค์กรและระดับโครงการ) มาตรฐานนี้สามารถช่วยในการระบุโอกาสในการประหยัดต้นทุนเพื่อเพิ่มความสามารถในการทำกำไร ปรับปรุงชื่อเสียงขององค์กร ดึงดูดนักลงทุนที่มีศักยภาพมากขึ้น เตรียมความพร้อมสำหรับข้อกำหนดทางกฎหมายในอนาคต และยังเป็นการสร้างมาตรฐานเทียบกับคู่แข่ง
มาตรฐาน ISO 14067 จะระบุหลักการและแนวทางปฏิบัติสำหรับการวิเคราะห์และทวนสอบคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) ของผลิตภัณฑ์ตลอดในแต่ละช่วงของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การทำฟาร์มและการขนส่ง ไปจนถึงการบรรจุและการจัดการขยะอาหาร
มาตรฐาน ISO 14001 จะกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ผู้ผลิตอาหารสามารถใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและสมรรถนะด้านสิ่งแวดล้อมภายในองค์กร ซึ่งรวมถึงคำแนะนำในแง่มุมต่าง ๆ ของธุรกิจ ตั้งแต่การจัดหาซัพพลายเออร์ และการผลิต ไปจนถึงการจัดเก็บและกระจายสินค้า โดยเน้นวิธีที่ธุรกิจสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้
มาตรฐาน ISO 50001 จะมุ่งเน้นไปที่วิธีที่ผู้ผลิตอาหารสามารถจัดการและปรับปรุงการใช้พลังงานผ่านการพัฒนาระบบการจัดการพลังงาน โดยมีกรอบการทำงานให้กับธุรกิจอาหารซึ่งรวมถึงการพัฒนานโยบายเพื่อให้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น กำหนดเป้าหมายเพื่อให้บรรลุประสิทธิภาพด้านพลังงานเหล่านี้ และการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจอย่างมีข้อมูลมากขึ้นเกี่ยวกับการใช้พลังงาน ซึ่งช่วยให้ผู้ผลิตอาหารสามารถวัด ทบทวน และปรับปรุงการใช้พลังงานได้อย่างต่อเนื่อง
[1] https://www.carbonbrief.org/food-systems-responsible-for-one-third-of-human-caused-emissions
[2]Mbow, C., Rosenzweig, C., Barioni, L.G., Benton, T.G., Herrero, M., Krishnapillai, M. and Waha, K., 2019. Chapter 5: foo
[3]Clark, M.A., Domingo, N.G., Colgan, K., Thakrar, S.K., Tilman, D., Lynch, J., Azevedo, I.L. and Hill, J.D., 2020. Global food system emissions could preclude achieving the 1.5° and 2° C climate change targets. Science, 370(6517), pp.705-708.
[4] https://www.fdf.org.uk/globalassets/resources/publications/guidance/net-zero-handbook-summary.pdf
[5] https://www.fdf.org.uk/globalassets/resources/publications/guidance/net-zero-handbook-summary.pdf (Page 3)
[6] https://wrap.org.uk/resources/report/uk-food-system-ghg-emissions
[7] UN's Food and Agriculture Organisation